<strong>Dullahan อัศวินหัวขาด </strong>

           Dullahan เป็นที่รู้จักกันในฐานะอัศวินขี่ม้าหัวขาดในตำนานและเป็นหนึ่งในตำนานของ Celtic God Crom Dubh ของชาวไอริชอีกด้วย เรื่องราวของเขานั้นกล่าวว่าเขาคือ อัศวินควบม้าหัวขาดที่เดินทางท่องไปในดินแดนไอร์แลนด์เพื่อออกตามหาเหยื่อ  “ดูลาฮานแห่งตำนานเซลติก” Dullahanเป็นหนึ่งในนิทานที่มีชื่อเสียงที่สุดในตำนานของชาวไอริชและเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีเรื่องราวดังกล่าวก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก              แต่ในทางกลับกัน นักขี่ม้าหัวขาดก็ได้กลายเป็นตัวละครหลักที่ได้อยู่ในตำนานของวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่นเดียวกับในเรื่องราวสยองขวัญสมัยใหม่ ดูลาฮานเป็นที่รู้จักมากที่สุดจากรูปร่างลักษณะของเขาที่ไม่มีหัว และมีเรื่องราวมากมายที่บ่งบอกว่าเขาสูญเสียศีรษะไปได้อย่างไร หนึ่งในนั้นคือ ครั้งเมื่อยังมีชีวิตเขาเคยเป็นทหาร แต่กลับถูกพรากชีวิตไปในสนามรบ               ส่วนการเดินทางสัญจรไปมาของเขานั้น ได้รับการพรรณนาว่าเขาได้พยายามค้นหาศีรษะที่หายไปชั่วนิรันดร์ ในขณะที่เขาควบม้าไปตามทาง แต่อย่างไรก็ตาม บางเรื่องก็บอกว่าเขามีหัวอยู่ในมืออยู่แล้วและเขาก็ขี่ม้าตามหาเหยื่อด้วยจุดประสงค์ที่เลวร้ายกว่านั้น เพราะเชื่อกันว่าตัวเขาขมขื่นกับความตายของเขาเอง จนต้องค้นหาวิญญาณดวงอื่นๆเพื่อพาเขาไปสู่ชีวิตใหม่ “รูปลักษณ์ของDullahan”                           โดยทั่วไปเขาจะปรากฏตัวพร้อมกับม้าสีดำ ไร้ศีรษะ หรือบ้างก็ยืนบนรถม้าศึกสีดำที่ลากโดยม้าสีดำ 6 ตัว ว่ากันว่าม้าเหล่านี้วิ่งเร็วและรุนแรงมาก จนมีไฟเล็ดลอดออกมาจากรูจมูกและกีบเท้าของพวกมันขณะที่เท้ากระทบกับพื้น รถม้าที่บางคนเชื่อว่าเขาขี่นั้นทำมาจากโลงศพ หลุมฝังศพ และกระดูก ซึ่งแสดงถึงเจตนาชั่วร้ายของเขาที่จะปลิดชีวิตผู้บริสุทธิ์                            เขาสวมเสื้อคลุมยาวสีดำซึ่งปลิวไสวอยู่ข้างหลังของเขาขณะที่เขาขี่ม้าผ่านดินแดนต่างๆ และเป็นที่รู้กันว่าเขาถือศีรษะที่ถูกตัดออกไป ชูสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อค้นหาวิญญาณที่เขาปรารถนาจะพาไป ซึ่งศีรษะที่ถูกตัดขาดของเขานั้นมีลักษณะที่น่ากลัว เพราะมันปกคลุมไปด้วยเนื้อเน่าซึ่งส่งกลิ่นเหม็นของชีสที่เน่าเปื่อยและผิวของแป้งเหม็นอับ ปากแตกเป็นรอยยิ้มที่น่าสะพรึงกลัว หากเมื่อเขาได้ปลิดชีพผู้อื่น ดวงตาของเขาเป็นประกายด้วยไฟชั่วร้ายฉายแววความสุข และพุ่งออกไปมองหาเหยื่ออย่างต่อเนื่อง “ควรอยู่ให้ห่างจากเส้นทางของDullahan”                             ไม่มีประตูล็อกเมืองใดที่สามารถปิดได้สนิทเมื่อเขาเข้ามาใกล้ มันจะเปิดออกเพื่อให้ Dullahanผ่านเข้าไปอย่างง่ายดาย ซึ่งในขณะที่เขาเดินผ่านเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังพระอาทิตย์ตกดินผู้คนก็ซ่อนตัวอยู่หลังม่าน เพราะถ้าหากใครมองมายังเขา […]

<strong>Dearg Due (เดียร์คดิว) แวมไพร์สาวผู้อาภัพรัก</strong>

                  Dearg Due กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสาวงามนางหนึ่งนามว่า “เดียร์ก-เดียร์” ซึ่งความงดงามของเธอเป็นที่รู้จักไปทั่วทุกสารทิศ เธอสามารถแต่งงานกับผู้ชายคนใดก็ได้ที่เธอต้องการ แต่เธอกลับตกหลุมรักกับชาวนาธรรมดาเสียอย่างนั้น ซึ่งสิ่งนี้ก็ทำให้พ่อของเธอไม่พอใจอย่างมากและไม่ยอมรับในตัวชาวนา จึงบังคับให้เธอแต่งงานกับชายเศรษฐีผู้มั่งคั่ง เพื่อผลประโยชน์ในอนาคต และเรื่องทางการเงินของครอบครัว ซึ่งสามีใหม่คนนี้ได้ปฏิบัติต่อ Dearg-due อย่างโหดร้ายทารุณทั้งทำร้ายร่างกาย และกักขังเธอไว้ และในที่สุดเธอก็ฆ่าตัวตาย ถึงแม้ว่าบางคนจะบอกว่ามันเป็นเพราะหัวใจที่แตกสลายที่ฆ่าเธอ                      การฝังศพของเธอเป็นไปอย่างเรียบง่าย และร่างของเธอก็ถูกฝังอยู่ในสุสานเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ใกล้กับต้นไม้สตรองโบว์ ในหมู่บ้านวอเตอร์ฟอร์ด ส่วนคนๆเดียวที่ไว้ทุกข์ให้กับการตายของเธอ ก็คือชายหนุ่มชาวนาอดีตคนรักของเธอ  ซึ่งเขามักจะมาเยี่ยมหลุมศพของเธอในทุกๆ วัน และสวดขอร้องอ้อนวอนให้เธอกลับมาหาเขา เรื่องราวบอกเราว่าหนึ่งปีผ่านไปหลังจากที่เธอเสียชีวิต เธอก็ได้ลุกขึ้นจากหลุมศพ ซึ่งความรู้สึกของเธอเต็มไปด้วยและอาฆาต และต้องการกลับมาล้างแค้น เธอได้ตรงไปที่บ้านพ่อของเธอในทันที  และในขณะที่เธอพบว่าเขากำลังหลับอยู่ เธอก็วางริมฝีปากไว้บนร่างของเขาและดูดพลังชีวิตออกมา และหลังจากนั้น เธอจึงเดินทางไปยังที่บ้านอดีตสามีของเธอ และฆาตกรรมเขาอย่างเลือดเย็น เพราะเธอไม่ได้ดูดลมหายใจแห่งชีวิตออกจากเขาเพียงเท่านั้น แต่เธอยังดูดเลือดของเขาอีกด้วย และว่ากันว่าเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายเข้ามา ก็ทำให้เธอรู้สึกเหมือนกับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง                    เป็นที่เลื่องลือกันว่า Dearg-dueมักจะลุกขึ้นจากหลุมศพของตัวเอง เพื่อหลอกล่อเหล่าชายฉกรรจ์ทั้งหลายให้ติดกับก่อนจะดื่มกินเลือดของพวกเขาจนพวกเขานั้นเสียชีวิต ซึ่งเธอมักจะปรากฏกายในรูปของสาวสวย                     ในตำนานได้กล่าวเอาไว้ถึงช่วงเวลาที่เธอมักจะฟื้นจากความตาย บ้างก็บอกว่าเธอจะกลับมาพร้อมกับพระจันทร์เต็มดวงในทุกๆ วัน บ้างก็บอกว่าเธอฟื้นจากความตายปีละครั้งในวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ ส่วนเรื่องราวในเวอร์ชั่น Dearg-dueส่วนใหญ่อ้างว่าเธอสามารถแปลงร่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกับค้างคาวได้ ในขณะที่เวอร์ชั่นอื่นๆ ไม่ได้กล่าวถึงความสามารถในการแปลงกาย บางตำนานกล่าวว่าเธอไม่ดื่มเลือด แต่จะดูดเอาพลังชีวิตจากผู้ชายไปจนกว่าพวกเขาจะค่อยๆ […]

<strong>ลูกกรอก ผีน้อยผู้น่าสงสาร </strong>

ลูกกรอก คืออะไร                        ลูกกรอก     ซึ่งแตกต่างจากกุมารทองที่ใช้เรียกเด็กที่เกิดมาก่อนแล้วถึงตายความหมายของคำว่าลูกกรอกโดยแท้จริงแล้วในสมัยโบราณใช้เรียกเด็กที่ตายในท้องแม่ตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งแตกต่างจากกุมารทองที่ใช้เรียกเด็กที่เกิดมาก่อนแล้วถึงตาย ลูกกรอกที่ตายในท้องแม่นั้นเชื่อกันว่ามีศักดิเป็นเทพมาเกิด เพียงแต่ว่ายังมีกรรมติดตัวมาทำให้มาเกิดเวลานั้นยังไม่ได้ ลูกกรอกจะมีอวัยวะครบ 32 เหมือนกับคนโดยทั่วไปเพียงแต่ขนาดจะเล็กกว่าปกติ เนื้อตัวจะแห้งเหี่ยวยุบลงไป  และเมื่อได้ลูกกรอกมาแล้วจะนิยมวางบนผ้าขาวใส่พานไว้                     โดยนำดอกไม้ ของเล่น ขนมต่างๆมาบูชา เพราะเชื่อกันว่าจะปกปักคุ้มครองผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ โชคลาภและเจริญรุ่งเรืองเงินทองอุดมสมบูรณ์                             มีความเชื่อกันว่าอิทธิฤทธิ์ของลูกกรอกนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งการปลุกเสกหรือทำพิธีแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าลูกกรอกนั้นมีเทพสิงสถิตอยู่แล้ว […]

<strong>แม่ย่านาง ผู้ปกปักรักษายานพหนะ </strong>

           แม่ย่านาง คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ เช่น รถ เรือ หรือเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในรถ ในเรือ และให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับขี่โดยสารได้                ตำนาน ความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางนั้นมีอยู่ว่า เมื่อพระอิศวรและพระแม่อุมาเสด็จประพาสทะเล มีกุ้งได้ออกมาร้องเรียนว่าตนเองเป็นสัตว์ที่ร่างกายมีแต่เนื้อ เปลือกห่อหุ้มบาง ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ทำให้ถูกบรรดาสัตว์น้ำอื่นๆ จับกินเสียมาก พระแม่อุมาจึงประทานพรให้กุ้ง มีเลื่อยสองคมปลายแหลมอยู่บนหัว มีหอกปลายแหลมอยู่ที่หาง เมื่อสัตว์ใดกินเข้าไปจะได้ใช้หางเจาะออกมาให้เข็ดหลาบ ซึ่งอาหารที่กุ้งสามารถกินเองได้ จะต้องเป็นของที่ตายเน่าเปื่อยเท่านั้น              จากนั้นจึงทำให้ประชากรกุ้งจึงมีมากจนเสียสมดุล กั้งจึงมาชักชวนผสมพันธ์แล้วออกอุบาย ว่าให้กุ้งใช้อาวุธที่ติดตัวเจาะท้องเรือสำเภาให้จม เมื่อจีนคนไหนว่ายน้ำไม่เป็นก็จะจมน้ำตายกลายเป็นอาหาร ส่วนหัวแบ่งให้กั้ง ส่วนตัวกุ้งก็เอาไปกิน ด้วยเหตุนี้ เรือสำเภาจึงตกเป็นเป้าและได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก พวกนายสำเภาจึงได้วิงวอนขอให้เจ้าหมาจ่อช่วยบอกกล่าวเทพเจ้าให้มาช่วยเหลือ เจ้าหมาจ่อที่สงสารชาวเรือ จึงบอกให้นำของมาเซ่นไหว้พลีกรรม ได้แก่ ผ้าแพรสีแดง สีทับทิม สิ่งละสิบพับ กับดอกไม้ธูปเทียน สำหรับเจ้าที่           เมื่อได้รับของถวายแล้ว เจ้าหมาจ่อจึงให้นายทหารนำของไปถวายเจ้าทั้งแปดทิศ แล้วร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะนำความไปกราบทูลพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวีให้ตัดสินปัญหา […]

ผีหัวขาด ผีไทยในตำนาน

                       ผีหัวขาด ถูกจัดให้อยู่ในประเภทของ “ผีตายโหง” ที่เสียชีวิตในลักษณะที่หัวขาดกระเด็นหลุดออกไปจากร่างกาย ทำให้เกิดแรงอาฆาตมหาศาล หรือความยึดติดสิ่งที่ตัวเองค้างคาใจก่อนตาย ทั้งเรื่อง คนที่รัก คนที่แค้น หรือสถานที่ที่ผีหัวขาดได้เสียชีวิตลง ทำให้มักปรากฏตัวให้เห็นในลักษณะไร้หัว และร่างกายเต็มไปด้วยเลือดชุ่มโชกชวนสยดสยองเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่การกลายมาเป็นผีหัวขาดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายรูปแบบ ผีหัวขาด จากการถูกประหาร                     ในสมัยก่อนการประหารนักโทษเต็มประด้วยความโหดเหี้ยม เพราะตั้งแต่สมัยโบราณมากมักจะใช้การประหารนักโทษด้วยดาบ หรือขวาน โดยตัดคอให้ขาดกระเด็นในครั้งเดียวต่อหน้าสาธารณะชน เพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู เพื่อที่คนอื่นๆจะได้ไม่ทำความผิดแบบเยี่ยงอย่างนักโทษเดียวกัน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเพชฌฆาตจะทำการสะกดวิญญาณเฮี้ยนของนักโทษไม่ให้กลายร่างมาเป็นผีหัวขาดที่คอยออกหลอกหลอนผู้คน แต่ก็มีบางครั้งที่มนต์สะกดเอาไม่อยู่ทำให้เกิดเหตุการณ์ผีหัวขาดออกอาละวาดหลายครั้งเช่นกัน ผีหัวขาดจากการรบ                        การรบในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อด้วยอาวุธหลักอย่างเช่นดาบ และในบางครั้งยังมีการตัดหัวศัตรูที่ถูกสังหาร เพื่อนำไปเป็นหลักฐานรับความดีความชอบกับเจ้านายฝ่ายตนด้วย อันเนื่องมาจากการตัดเอาไปแค่หัวนั้น ย่อมง่ายกว่าการแบกศพไปสำหรับการเดินทางที่ไม่ค่อยสะดวกนักในสมัยก่อนเป็นระยะเวลานาน ผีหัวขาดจากการถูกฆาตกรรม                 […]

<strong>ผีแม่หม้าย ผู้ชอบลวงวิญญาณชายหนุ่มไปเป็นบริวาร</strong>

ตำนานผีแม่หม้าย             ผีแม่หม้าย เรื่องของผีแม่หม้ายนั้นเป็นเรื่องเล่าที่มีการเล่าขานกันมาอย่างยาวนานและถึงแม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้คนที่มีความเชื่อว่ามีผีแม่หม้ายมาเอาชีวิตชายหนุ่มในหมู่บ้านไป                       คนโบราณเชื่อกันว่า “ผีแม่หม้าย” ในตอนที่เป็นมนุษย์เป็นหญิงร่านที่นิยมไปเป็นชู้กับสามีของคนอื่น ทำให้ครอบครัวของคนอื่นต้องร้าวฉานและแยกทางกัน แต่บ้างก็เชื่อว่า ผีแม่หม้ายเป็นวิญญาณของโสเภณีที่ตายไปแล้วแต่จิตก็ยังคงเต็มไปด้วยตัณหา ทำให้ไม่สามารถไปผุดไปเกิดได้จนกลายมาเป็นวิญญาณเร่ร่อน              ในสมัยก่อนถ้าหากหมู่บ้านใด มีผู้ชาย “ไหลตาย” ติดต่อกัน คนในหมู่บ้านจะเชื่อกันว่า เกิดจาก ผีแม่หม้าย ออกมาอาละวาด และส่วนมากผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อของผีแม่หม้าย ก็มักจะมีอายุประมาณ 20 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่ยังโสด พบว่ามีสถิติการเสียชีวิต มากกว่าผู้ชายที่แต่งงาน มีครอบครัวแล้ว เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ผีแม่หม้าย                   เรื่องเล่าของผีแม่หม้ายนั้น มักจะเกิดขึ้นทางภาคอีสาน และจะเกิดขึ้นตามหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านชนบทส่วนใหญ่โดยมีความเชื่อกันว่าหมู่บ้านไหนที่มีผู้ชายตายติดต่อกันหลายๆคน แสดงว่ามีผีแม่หม้ายออกอาละวาดมาเอาตัวชายหนุ่มในหมู่บ้านไปทุกคนจะต้องมีการหาวิธีการที่จะแก้ไขไม่ให้ผีแม่หม้ายมานำชีวิตของผู้ชายในหมู่บ้านไปได้สำหรับความลึกลับนี้มักจะพบว่าผู้ชายในหมู่บ้านที่ตายมักจะมีอายุราวๆ 20 ปีถึง 50 ปีเท่านั้น                    และเมื่อใดก็ตามที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าผีแม่หม้ายอาละวาด ผู้ชายในหมู่บ้านก็มักจะเสียชีวิตกันอย่างต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่จะมีอาการไหลตายนั่นก็คือนอนหลับในตอนกลางคืน และเมื่อถึงเวลาเช้าก็จะพบว่าชายหนุ่มเหล่านั้นก็ไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย ซึ่งอาการนี้ชาวบ้านต่างก็เรียกว่าอาการไหลตาย โดยคาดการณ์ว่าผีแม่หม้ายมาเอาวิญญาณชายหนุ่มเหล่านี้ไป และหลายหมู่บ้านก็ได้มีวิธีการที่จะแก้ไขไม่ให้ผีแม่หม้ายมาเอาตัวชายหนุ่มของบ้านของตนเองไป                         ซึ่งบางครั้งหากมีเหตุการณ์ผีแม่หม้ายอาละวาดบางบ้านก็จะนำป้ายมาแขวนไว้ที่หน้าบ้านเขียนว่า “บ้านนี้มีแต่ผู้หญิง”   หรือบางๆก็จะมีการนำ “ปลัดขิก” มาห้อยไว้ที่หน้าบ้านซึ่งเมื่อผีแม่หม้ายมาเห็นมันก็จะเอาไปแทน ทำให้ชายเจ้าของบ้านไม่เสียชีวิต บางหมู่บ้านก็จะใช้วิธีการนำ “เสื้อสีแดง” มาแขวนไว้ที่หน้าบ้านซึ่งก็ถือว่าหากผีแม่หม้ายมาอยู่ที่บ้านใครและเห็นเสื้อสีแดงแขวนอยู่แสดงว่าบ้านนั้นไม่มีผู้ชาย ทำให้ผีไม่เอาชีวิตคนในบ้านไป       […]

<strong>ผีฟ้า ผีสางเทวดา</strong>

ความเป็นมาของผีฟ้า                      ผีฟ้า ของชาวอีสานมีความเชื่อถือต่อผีและวิญญาณมาก เพราะมีความเชื่อว่าเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยเจ็บไข้ได้ป่วย              และภัยพิบัติต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดมาจากอิทธิฤทธิ์ของผีสางและเทวดา พวกเขาจึงเซ่นไหว้บวงสรวงผีต่างๆ และทุกครั้งที่มีการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกๆ ฤดูกาล ก็จะเกิดแต่ความสุขไปทั่ว ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะหาย ข้าวกล้าในนาก็อุดมสมบูรณ์และการที่มีคติความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็ทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีหลายลักษณะ                    และพีธีบูชา ผีฟ้าก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง ชาวอีสานมีความเชื่อว่า พญาแถน หรือผีฟ้า หรือผีแถนนั้น เป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิดอื่นๆ ส่วนแถนนั้น มีความเชื่อว่าเป็นคำเรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ “แถนหลวง”  ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นพระอินทร์                     ซึ่งจากคำบอกเล่าบอกว่าผีฟ้านั้นสามารถที่จะ ดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ ความเชื่อของชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้าสามารถที่จะกำหนดการเกิดการตายของมนุษย์ได้ การที่มนุษย์ตายไปขวัญจะออกจากร่างเพื่อไปพบบรรพชน แต่ขวัญจะไม่แตกดับเหมือนร่าง เป็นเพียงการจากไปของร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับผู้มีชีวิต                            “ผีฟ้าเอย ได้โปรดเมตตา หมู่เฮาป่วยไข้ บอกใบ้หยูกยา หมู่เฮาบูชา ฮักผีฟ้าเอย..”   ผีฟ้า คือเทวดาไม่ใช่ผีสาง                           สำหรับชาวอีสานมีความเชื่อว่าเป็นเทวดามากกว่าเป็นผีสาง จึงมีระดับสูงกว่าผีชนิดอื่นๆและมีความเชื่อว่าผีฟ้า สามารถดับทุกข์ ทำลายอุปสรรคหรือช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ […]

ผีนางรำ ผีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย

                       ผีนางรำ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ตัวละครผีสาวสวมมงกุฎตาแดงนั้นได้ออกฤทธิ์เดชให้ผู้ชมได้อกสั่นขวัญแขวนทั้งในภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์รวมกันถึง 25 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องดังอย่าง ผีสามบาท (2544) อารมณ์ อาถรรพณ์ อาฆาต (2545) ผีคนเป็น (2549) หอแต๋วแตก แหกกระเจิง (2552) หรือละครสุดฮิตเมื่อปี 2558 อย่างนางชฎาและห้องหุ่น                          ด้วยภาพฉายซ้ำที่มักให้ผีนางรำปรากฎตัวเพื่อตามหลอกหลอนหรือเข่นฆ่า อาจทำให้หลายๆ คนคิดว่าผีนางรำเป็นแค่ตัวละครที่คอยคุกคามความรู้สึกให้ผู้ชมได้สยองกันเพียงเท่านั้น แต่ผีไทยประเภทนี้สามารถสะท้อนวิธีคิดในสังคมไทย และมีความหมายมากกว่าความน่าขนลุกขนพอง ความผูกพันทางด้านความเชื่อที่ไม่มีวันหนีพ้น                         สำหรับผู้ผลิตสื่อ “ผีนางรำ” เป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างสมบูรณ์ ในมุมมองร่วมของสมาชิกทีมงานเดอะช็อค รายการวิทยุที่ให้ผู้ฟังโทรมาเล่าถึงประสบการณ์เรื่องราวเร้นลับยอดฮิต ได้แก่ กพล ทองพลับ เจ้าพ่อรายการผี ไพโรจน์ ดำมินเศก หรือ ขวัญ น้ำมันพราย และณภัทร เหมวงศ์ หรือ นัท เดอะช็อค ภาพวิญญาณหญิงสาวในชุดไทยออกลีลาร่ายรำ คือภาพแทนของความผูกพันทางด้านความเชื่อที่คนไทยไม่มีวันหนีพ้น “คนไทยมักจะคุ้นเคยกับนางรำ ชุดไทย หรือตุ๊กตานางรำที่เห็นอยู่ตามศาลพระภูมิ เพราะมันเป็นความเชื่อที่เราผูกพัน มันเลยทำให้สามารถผูกเรื่องเข้าไปได้ และนาฏศิลป์ไทยนั้นมีความขลัง ความเก่า และความโบราณ เลยทำให้บรรยากาศดูน่ากลัวมากยิ่งขึ้น”  […]

ผีถ้วยแก้ว การละเล่นอาถรรพ์

                   ผีถ้วยแก้ว เป็นการละเล่นโบราณอย่างหนึ่งตามความเชื่อส่วนบุคคล โดยเชื่อว่าเป็นการอัญเชิญวิญญาณ หรือผีมาสถิตในถ้วยแก้ว แล้วสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ กับวิญญาณนั้นตามแต่จุดประสงค์ของผู้เล่น ผู้เล่นจะทราบคำตอบของคำถามจากการเคลื่อนที่ของถ้วยแก้วไปบนตัวอักษรที่เขียนเอาไว้บนแผ่นกระดาษ ตำนานของ ผีถ้วยแก้ว ตามหลักพระพุทธศาสนา                     ในคำสอนตามคำภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า จิตของมนุษย์นั้นจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ในเวลาที่เราคิดเรื่องใด ๆ ก็ตาม จะมีกระแสจิตกระจายออกมารอบ ๆ ซึ่งทำให้ผู้ที่ทำสมาธิจนสำเร็จฌาน สมาบัติ หรือได้สำเร็จวิชา “เจโตปริยญาณ” (หยั่งรู้วาระจิต) จะสามารถรับรู้กระแสความคิดของคนทุกคนได้                      ซึ่งธรรมชาติของกระแสความคิดนี้มีทั้งในมนุษย์และสัตว์ทั่วไปด้วย ผู้ที่รับรู้กระแสความคิดของมนุษย์ได้นี้ นอกจากผู้ได้สำเร็จวิชาเจโตปริยญาณแล้ว ก็ยังมีพวกเทพ เทวดา ต่าง ๆ ด้วย รวมไปถึงพวกวิญญาณทั้งหลาย ที่ยังเร่ร่อนอยู่ในมิติที่ละเอียด ซึ่งตาของมนุษย์ธรรมดาจะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งพวกเหล่านี้จะสามารถรับรู้กระแสความคิดของมนุษย์ได้เช่นกัน                      ก่อนเริ่มเล่นผีถ้วยแก้ว จะต้องมีการอัญเชิญวิญญาณเข้ามาในถ้วยแก้วเสียก่อน โดยผู้ที่เล่นจะต้องตั้งจิตเป็นสมาธิ เอานิ้วชี้แตะไว้บนถ้วยแก้วที่คว่ำลง จากนั้นผู้เล่นจะตั้งคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับวิญญาณที่สถิตอยู่ในแก้ว และจะสามารถรู้คำตอบได้จากการเคลื่อนที่ของถ้วยแก้วไปบนกระดานที่มีตัวอักษรต่าง ๆ วรรณยุกต์ รวมถึงตัวเลข และมีตำแหน่งที่ใช้สำหรับพักก่อนจะอัญเชิญวิญญาณเข้ามาสิง ซึ่งวิญญาณจะบังคับถ้วยแก้วให้เดินไปตามตัวอักษรแต่ละตัว แล้วผสมกันจนออกมาเป็นคำที่ได้ความหมาย อุปกรณ์การเล่นผีถ้วยแก้ว – กระดาษขาวสำหรับเขียนตารางตัวอักษร– ถ้วยแก้วขนาดเล็ก– ธูป เทียน– เครื่องเซ็น วิธีเล่นผีถ้วยแก้ว – […]

ผีตาโขน ผีตามคน

                   ผีตาโขน เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย            ซึ่งมักจะจัดงานมากกว่าสามวันในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกจากคนทรง ประจำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้มีชื่อเรียกว่า บุญหลวง โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานบุญหลวง (หรือ บุญผะเหวด)                         ผีตาโขนนั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออกมาส่งเสด็จด้วยอาลัย                         กำหนดการในงานประเพณีบุญหลวง และงานผีตาโขนจะมีหลักๆ 3 วันด้วยกันคือ วันที่ 1 เป็น เทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม หรือ วันโฮม จะมี พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีการบวชพราหมณ์ เพื่อเชิญพระอุปคุต พิธีแห่จากวัดโพนชัย ไปริมฝั่งแผ่น้ำหมันเพื่อเชิญพระอุปคุต พิธีงมพระอุปคุตจากแม่น้ำหมันอัญเชิญขึ้นประดิษฐานหออุปคุต วัดโพนชัย พิธีเบิกพระอุปคุต พร้อมยิงปืนทั้ง 4 ทิศ พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม วันที่ 2 เป็น วันแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง หรือ ขบวนแห่ผีตาโขน พิธีสู่ขวัญพระเวส อัญเชิญพระเวสเข้าเมือง ขบวนแห่พระเวสเข้าเมือง (ขบวนแห่ผีตาโขน) เจ้าพ่อกวนและคณะ นำขบวนแห่ไปวัดโพนชัยแห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เจ้าพ่อกวนและคณะจุดบั้งไฟขอฝน คณะผู้เล่นบุญนำหน้ากากผีตาโขนน้อยและผีตาโขนใหญ่ทิ้งลงแม่น้ำหมัน วันที่ […]